Renovation The Old Custom House of Bangkok Area for Community Cultural Value
โครงการปรับปรุงพื้นที่อาคารศุลกสถานเพื่อคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชน
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยโดยเริ่มต้นจากการสนใจในเรื่องประเด็นทางวัฒนธรรมของพื้นที่บริเวณทางตอนเหนือแขวงบางรักซึ่งประกอบไปด้วยอาคารที่สำคัญต่างๆทางด้านศาสนาและ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ โดยบริเวณพื้นที่ศึกษาประกอบไปด้วยส่วนสำคัญคือพื้นที่ริมน้ำอาคารศุลกสถาน ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่มีสภาพทรุดโทรม ใช้เป็นสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมก่อสร้างเป็นโรงแรมบูติคโดยกรมธนารักษ์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่เนื่องจากในสภาพบริบทของพื้นที่ศึกษาดังกล่าวเป็นสถานที่ที่มีความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์เก่าแก่ เพราะย่านบางรักถือเป็นย่านเริ่มต้นทางการค้า และการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติในอดีต ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ามีศาสนสถานที่มีอายุเก่าแก่มากมาย รวมถึงสถาปัตยกรรมของย่านที่มีความเป็นมาที่ยาวนาน ทั้งนี้ในบริเวณพื้นที่ศึกษายังมีชุมชนมุสลิมเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เติบโตอยู่ท่ามกลางความเจริญที่เปลี่ยนไปของกรุงเทพมหานคร หากแต่ใครที่ไม่เคยผ่านเข้ามาจะไม่มีโอกาสได้ทราบเลยว่ามีชุมชนที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่อยู่ในใจกลางกรุงเทพมหานครเช่นนี้
การศึกษาทำโครงการดังกล่าวจึงศึกษาการพัฒนาโปรแกรมในเชิงสาธารณะเพื่อประโยชน์ทางคุณค่าวัฒนธรรมของชุมชนมากกว่าที่จะเป็นอาคารโรงแรมเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มเดียวได้ใช้สอยโดยศึกษาพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบสนองต่อพื้นที่คือฟื้นคืนคุณค่าให้กับอาคารศุลกสถานในเชิงคุณค่าและความเป็นมาของพื้นที่ และบูรณาการส่วนใหม่สถาปัตยกรรมเพื่อสนับสนุนการใช้งานของอาคารเดิมให้มีคุณค่ามากขึ้นและสอดคล้องกับบริบททางชุมชน โดยพัฒนาโปแรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางชุมชนเป็นหลักคือความต้องการด้านพื้นที่ใช้สอยเพื่อสาธารณะ บริการทางด้านการศึกษา และเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับย่านบางรักอีกด้วย
แนวความคิดในการออกแบบ
การออกแบบสถาปัตยกรรมในโครงการปรับปรุงพื้นที่ศุลกสถานเพื่อคุณค่าทางวัฒนธรรมชุมชน เป็นการ RENOVATE การใช้งานภายในส่วนอาคารเก่า และออกแบบในส่วนอาคารใหม่ที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับอาคารเดิม เพื่อส่งเสริมถึงคุณค่า และการใช้งานของอาคารศุลกสถานเดิมหลังนี้ โดยไม่ทำลายคุณค่าของอาคารเดิม โดยการออกแบบ Site zoning มีรายละเอียดดังนี้
1.เชื่อม Circulation ของทางรถจากซอยเจริญกรุง 36 และ ซอยเจริญกรุง 34 ในโครงการเพื่อใช้เป็นทางสัญจรรถหลัก และทางฉุกเฉิน
2.เชื่อม Circulation คนเดินให้เข้ากับทางเดินเท้าที่มีอยู่แล้ว ได้แก่
– ทางสัญจรริมน้ำ สู่ท่าเรือ
– ทางเดินจากชุมชน
– ทางเข้าหลักโครงการ
3.เปิดทางเข้าชุมชนเชื่อม green space เพื่อเป็น buffer ให้กับชุมชนและต่อเนื่องกับกุโยร์ของชุมชน
4.เชื่อมกิจกรรมริมน้ำด้วย waterfront area ตอบรับกับทางเดิน
[Best_Wordpress_Gallery id=”10″ gal_title=”Renovation The Old Custom House of Bangkok Area for Community Cultural Value”]