Amphawa learning and craft man construction center
ศูนย์การเรียนรู้และอบรมช่างฝีมือก่อสร้างพื้นถิ่นอัมพวา
การส่งเสริมและอนุรักษ์ช่างพื้นถิ่นให้ดำรงอยู่ไว้ของพื้นที่ของตนเองจะเป็นการอนุรักษ์อาคารพื้นถิ่นไปด้วยเนื่องจากอาคารสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นมีการใช้ช่างจากราชการ ช่างจากผู้ที่มีความชำนาญด้านการออกแบบ แต่ช่างเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางสุนทรีภาพ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านวิถีชีวิต ใช้แต่ความแข็งแรงของอาคารสมัยใหม่ที่มีความแข็งแรงกว่าอาคารพื้นถิ่นเป็นทางเลือกให้แก่ชาวบ้านได้ใช้ในทางที่ผิด
การเกิดโครงการพัฒนาและส่งเสริมช่างชุมชนเพื่อเป็นการให้คนในชุมชน ได้เล็งเห็นการอนุรักษ์เอกลักษณ์และความสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยการให้ช่างเป็นคนซ่อมอาคารตามทักษะและฝีมือด้านช่างที่ได้เรียนมาตามรูปแบบของอาคารเดิมโดยที่ไม่ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพอาคารเดิมอีกทั่งยังจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้โดยที่ไม่ทำลายรูปแบบเดิมมากหนักหรือที่เรียกว่าเรือนผสม ปัจจัยที่มีผลอีกอย่างคือวัสดุที่มีราคาแพงในปัจจุบันเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สถาปัตยกรรมมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเพราะความไม่คงทนต่อวัสดุสมัยเก่าอีกทั่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมวัสดุสมันเก่ามีราคาค่อนค่างสูงและซ่อมบ่อยเมื่อเทียบกับวัสดุใหม่ที่ซ่อมนานทีครั้งแต่คงทน
การให้ความรู้แก่ช่างเกี่ยวกับวัสดุทดแทนไม้จากวัสดุทางการเกษตรเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเรือนให้มีราคาถูกลงและช่างก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการเรียนรู้และเสวงหาวัสดุใหม่เพื่อมาทดแทน
แนวความคิดในการออกแบบ
สถาปัตยกรรมเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในการปรับตัวให้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินั้นๆได้ตามกระบวนการทางความคิดที่ได้ตกผลึกออกมาและสืบถอดต่อๆกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วไปอย่างรวดเร็วในยุคสังคมปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตชนบทได้เปลี่ยนไป ความเจริญทางด้านวัสดุการก่อสร้างในการปรับปรุงซ่อมแซมและการยกระดับวีถีความเป็นอยู่ของที่อยู่อาศัยในปัจจุบันได้แปลงเปลี่ยนเป็นวัสดุสมัยใหม่ เกิดเป็นการทำลายทางด้านภูมิปัญญาของชุมชนตนเองที่ได้สืบต่อกันมา ส่งผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม
ไม้คือวัสดุแรกเริ่มของวิวัฒนาการมนุษย์ในการคิดสิ่งประดิษฐ์พื้นฐานต่างๆมาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่หลากหลาย ต่อมาได้พัฒนาการมาเป็นทีอยู่อาศัยที่แข็งแรงขึ้น ทนต่อสภาพแวดล้อมได้มากขึ้นสังเกตได้จากภูมิปัญญาที่สืบกันมาจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั่งไม้ยังถูกค้นพบตามหลุมศพที่ฝังไปพร้อมๆกับบุคคลเหล่านั้น ไม้ยังสามารถปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นได้ตามความคิดจิตนาการของผู้ใช้มัน การนำไม้มาเป็นจุดเริ่มนับถอยหลังสู่วิวัฒนาการเริ่มแรกโดยคนปัจจุบันบวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาดั้งเดิม
รูปแบบของเดือยมีหน้าที่ที่แตกต่างกันเดือยที่ยากทีสุดจะมีความซับซ้อนมากกว่าเพื่อการรับน้ำหนักจะถูกวางในแนว Center เดือยถัดมาจะถูกลดทอนความซับซ้อนลงจากหน้าที่การรับน้ำหนักจนในที่สุดโครงสร้างจะถูกแปลงสภาพการรับน้ำหนักที่ไม่มากหนักซึ่งจะเป็นการมัด
[Best_Wordpress_Gallery id=”7″ gal_title=”Amphawa learning and craft man construction center”]