การแข่งขัน Detail of the Year 2017 (DOY2017)
หัวข้อการประกวดแบบ: นวัตกรรมวัสดุอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(Eco Building Materials Design Contest)
- หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติภาวะโลกร้อน เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างมากมาย จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ และเกิดภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรง ซึ่งประเทศไทยก็ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในวงการ ออกแบบด้านสถาปัตยกรรม ที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาแนวคิดการออกแบบ เทคนิค วิธีการที่เน้นการลดและใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีภูมิปัญญาช่างในหลายแขนง ที่มีคุณค่าในการเรียนรู้แนวคิด และวิธีการดัดแปลงวัสดุธรรมชาติที่มีความหลากหลายในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มาประดิษฐ์หรือ ประยุกต์ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ในองค์ประกอบหลักทางสถาปัตยกรรมของอาคารเช่น พื้น ผนัง หลังคา องค์ประกอบอาคารอื่น ๆ เช่น ประตู หน้าต่าง บันได ฯลฯ ตลอดจนวัสดุตกแต่งภายในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้งาน วิถีชีวิต รูปแบบการอยู่อาศัยตามแต่ละสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมาแต่โบราญ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบทอดกันต่อ ๆ มา ถือเป็น จุดเริ่มต้นที่มีแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาผสมผสานแนวคิดกับวัสดุสมัยใหม่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี พัฒนาให้มีนวัตกรรมในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม สามารถปรับใช้ในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะหันกลับมามองสิ่งที่มีอยู่ในอดีตและสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในด้านภูมิปัญญาและวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น และเทคโนโลยี พัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมอย่างมีรากเหง้าจากอดีตสู่ปัจจุบัน สืบเนื่องต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษาเอกชนที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ได้เห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงภูมิปัญญาของท้องถิ่น และความสามารถของเด็กไทยในสายวิชาชีพช่างในสาขาที่เกี่ยวข้องทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อยอดแนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นพื้นฐานของช่าง สามารถพัฒนาไปเป็นนักออกแบบที่มีทั้งทักษะฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ได้ในอนาคต จึงจัดให้มีการประกวดแนวคิดการปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ ให้ใช้ประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบของงานสถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัย เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ
- วัตถุประสงค์
- เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาเกิดการตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการพัฒนาภูมิปัญญาช่างในท้องถิ่น
- เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้านการออกแบบที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่มีรากเหง้าจากสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น อันสะท้อนถึงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของท้องถิ่นในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
- เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาในสายวิชาชีพช่างที่เกี่ยวข้องในงานสถาปัตยกรรม ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะในการคิดค้นออกแบบรายละเอียดในงานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น พื้นที่นั้น ๆ สามารถสร้างได้ บนหลักความเป็นจริง
- เพื่อส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ในการแก้ปัญหากับอาคารที่อยู่อาศัยหรือปัจจัยสนับสนุนการใช้สอยอาคาร ที่เหมาะสมในท้องถิ่น ชุมชนนั้น ๆ
- เพื่อส่งเสริมบทบาทของสถาบันการศึกษาอาชีวะ ที่มีพันธกิจด้านผลิตนักปฏิบัติวิชาชีพ ให้มีทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ เป็นกำลังของท้องถิ่นและประเทศชาติ และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร
- กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษาสายวิชาชีพ ปวช. ทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง
- รูปแบบการดำเนินงาน
- การจัดประกวดออกแบบ “นวัตกรรมวัสดุอาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยเชิญชวนนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา สายวิชาชีพ ปวช.-ปวส. หรือเทียบเท่า ที่กำลังศึกษาทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม การเขียนแบบ หรือ การก่อสร้าง ส่งผลงาน นวัตกรรมการออกแบบ เข้าร่วมโครงการ
- ผลงานออกแบบ ที่คิดค้นและประกอบขึ้น เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม หรือชิ้นส่วนของอาคาร หรือสิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวกการใช้สอยภายในอาคาร ประเภทที่พักอาศัย โดยคิดค้นมาจากวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น และผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่
- รางวัล
ประเภท | รางวัลที่ได้รับ | จำนวน |
ชนะเลิศ | ทุนการศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร และเงินรางวัล 30,000 บาท และโล่ห์รางวัลพร้อมเกียรติบัตร | 1 รางวัล |
รองชนะเลิศอันดับ 2 | เงินรางวัล 15,000 บาท และโล่ห์รางวัลพร้อมเกียรติบัตร | 1 รางวัล |
รองชนะเลิศอันดับ 3 | เงินรางวัล 7,000 บาท และโล่ห์รางวัลพร้อมเกียรติบัตร | 1 รางวัล |
ชมเชย | เงินรางวัล 3,000 บาท และพร้อมเกียรติบัตร | 7 รางวัล |
- คุณสมบัติและเงื่อนไขการร่วมประกวด
- เป็นนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาหรือสายวิชาชีพ ปวช. ขึ้นไป หรือ เทียบเท่า
- สมาชิก 1 คน ต่อทีม
- ผู้สนใจเข้าร่วมประกวด มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าร่วมได้เพียง 1 ผลงานต่อทีม เท่านั้น
- ผลงานทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นรูปแบบที่ไม่เคยมีการนำเสนอที่ใดมาก่อน และต้องไม่ละเมิดสิทธิ์งานของผู้อื่น หรือต้องไม่เป็นผลงานที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหากถูกตรวจสอบพบภายหลังจะถือเป็นโมฆะ และถูกเรียกรางวัลคืนทั้งหมดโดยผู้ส่งผลงานจะต้องรับผิดชอบความเสียหายด้านลิขสิทธิ์ของข้อมูลทุกชนิด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมจะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
- ผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าร่วมโครงการ ขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์และแสดงผลงานทุกชิ้นได้ทุกรูปแบบเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้งขอสงวนสิทธิ์ในการน าผลงานไปพัฒนาเป็นแบบรายละเอียดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
- เงื่อนไขอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อกำหนด ข้างต้นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ โดยผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาดและสิ้นสุด
- ข้อกำหนดในการออกแบบผลงาน
- ลักษณะชิ้นงานออกแบบ เป็นแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม หรือ สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการใช้สอยภายในอาคาร ประเภทที่พักอาศัย
- ลักษณะชิ้นงานตามข้อ 7.1 ประดิษฐ์หรือประกอบขึ้นเป็นชิ้นส่วนในงานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ต้องมีวัสดุหลักเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นนั้น
- ลักษณะชิ้นงานตามข้อ 7.1 ประดิษฐ์หรือประกอบขึ้นเป็นชิ้นส่วนในงานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ต้องมีหลักการหรือวิธีการที่ต่อยอดหรือแรงบันดาลใจจากภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ๆ
- ลักษณะชิ้นงานตามข้อ 7.1 มีประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้กับอาคารที่อยู่อาศัย ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หรือปัญหาในท้องถิ่น
- หลักเกณฑ์การตัดสิน
- เกณฑ์การตัดสินในรอบแรกจะเป็นการพิจารณาเพื่อคัดเลือกผลงานเข้ารอบ ตามเกณฑ์ข้อ 8.1.1-8.1.3 รวม 70 คะแนน และการพิจารณาในรอบสุดท้ายตามเกณฑ์ข้อ 8.1.4 อีก 30 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนน เกณฑ์ในการตัดสินมี ดังนี้
- ตรงตามแนวคิดที่มีที่มาจากแรงบันดาลใจในท้องถิ่น 20 คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์ 25 คะแนน
- มีความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ในอาคาร 25 คะแนน
- การเขียนแบบแสดงแบบรายละเอียดของชิ้นงาน 30 คะแนน (รอบสุดท้าย)
- รวมทั้งสิ้น 100 คะแนน
- การคัดเลือกผลงาน
- เกณฑ์การตัดสินในรอบแรกจะเป็นการพิจารณาเพื่อคัดเลือกผลงานเข้ารอบ ตามเกณฑ์ข้อ 8.1.1-8.1.3 รวม 70 คะแนน และการพิจารณาในรอบสุดท้ายตามเกณฑ์ข้อ 8.1.4 อีก 30 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนน เกณฑ์ในการตัดสินมี ดังนี้
คัดเลือกผลงานเข้ารอบจำนวน 10 ผลงาน โดยผู้ผ่านเข้ารอบจะได้รับเงินพัฒนาชิ้นงาน จัดทำเป็นหุ่นจำลอง ค่าใช้จ่ายผลงานละ 5,000 บาท และน าเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในวันพิจารณาตัดสินผลงานรอบสุดท้ายด้วยตนเอง ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน กรุงเทพฯ (สถานที่พิจารณาตัดสินอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้)
- การรับสมัครและรายละเอียดการส่งผลงาน
- เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
- สมัครออนไลน์ โดยสแกน QR code หรือ
- สมัครออนไลน์ >> ใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Detail of the Year 2017 << หรือ
- Downloadใบสมัคร แล้วกรอกใบสมัครตามแบบฟอร์มที่แนบมาด้วย แล้วสแกนเป็นไฟล์รูปภาพหรือ pdf ส่งเป็นอีเมล์กลับมาที่ผู้รับ architecture@spu.ac.th
- สมัครออนไลน์ โดยสแกน QR code
- ส่งผลงานพร้อมระบุหมายเลขผู้สมัคร (คณะจะแจ้งหมายเลขผู้สมัครยืนยันตอบรับทางอีเมล์) ไว้ด้านหลังมุมขวาของแผ่น ภายในวันที่กำหนด (ถือวันประทับตรานำส่งไปรษณีย์เป็นสำคัญ)
- ลักษณะผลงาน
- ส่งผลงานในรูปแบบ Sketch Design โดยไม่จำกัดเทคนิคในการนำเสนอ บนกระดาษวาดเขียนขนาด 100 ปอนด์ ขนาด A2 แนวตั้ง 1 แผ่น ติดบนแผ่นวัสดุแข็ง ประกอบด้วย
- แสดงข้อมูลพื้นฐานวัสดุธรรมชาติและภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- แสดงแนวความคิดในการออกแบบ
- แสดงแบบ ประกอบด้วย แปลน รูปด้าน รูปตัด มาตราส่วน 1 : 10
- แสดงภาพ 3 มิติการนำไปใช้ประโยชน์กับอาคาร
- ผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบสุดท้าย จะได้รับเงิน 5,000 บาท เพื่อพัฒนาผลงาน เป็นหุ่นจำลอง และการเขียนแบบ(Drawing) ด้วยปากกา หรือดินสอ ตามมาตรฐานการเขียนแบบ บนกระดาษไขขนาด A2 ไม่เกิน 2 แผ่น แสดงแบบขยายรายละเอียด วิธีการประกอบ ติดตั้งในงานสถาปัตยกรรม ตามข้อ 9.3.1 มาตราส่วนแสดงแบบผลงานทั่วไป 1 : 25 กำหนดมาตราส่วนแบบขยายของแบบไม่น้อยกว่า 1 : 10 โดยส่งผลงานในวันตัดสิน เพื่อพิจารณาตัดสินในรอบสุดท้าย
- สถานที่ส่งผลงาน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- ส่งผลงานภายในวันที่กำหนด (โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์วันนำส่งเป็นสำคัญ) โดยส่งถึง
- ส่งผลงานในรูปแบบ Sketch Design โดยไม่จำกัดเทคนิคในการนำเสนอ บนกระดาษวาดเขียนขนาด 100 ปอนด์ ขนาด A2 แนวตั้ง 1 แผ่น ติดบนแผ่นวัสดุแข็ง ประกอบด้วย
- เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 อาคาร 5 ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
สอบถามข้อมูลหรือรายละเอียดการประกวด ได้ที่
นางสาว สุชาดา หิรัญ
สำนักงานเลขานุการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เลขที่ 2410/2 อาคาร 5 ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร 02 579 1111 ต่อ 2160
มือถือ 06 4690 6507
LINE @: SOA-SPU
FACKBOOK : SOA DOY SPU
Website: https://arch.spu.ac.th/doy/
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียน นักศึกษา ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และมีประสบการณ์พื้นฐานสู่การเรียนรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ในระดับอุดมศึกษา
- ช่วยกระตุ้นให้คนไทยหันกลับมามองสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งในด้านทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อยอดสร้างสรรค์อย่างมีอัตลักษณ์ของตนเอง
- กระตุ้นให้ท้องถิ่นเกิดความคิดการแก้ปัญหาด้วยการพึ่งพาตนเองในทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยีของท้องถิ่น สอดคล้องตามแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
- กระตุ้นให้คนไทยมีจิตส านึกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติในพื้นที่
- กรรมการตัดสิน
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ (TCDC)
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรางพานิชย์ (CDAST)
- ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ผู้สนับสนุนโครงการ
- ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ
ลำดับ | รายละเอียด | กำหนดการ |
1 | ขออนุมัติหลักการ และเกณฑ์การประกวด | 20 สิงหาคม 2560 |
2 | ประชาสัมพันธ์การประกวดผ่านช่องทางต่าง ๆ | 2 ตุลาคม – 13 พฤศจิกายน 2560 |
3 | ส่งใบสมัคร ตอบรับการสมัคร | ภายใน 25 ธันวาคม 2560 |
4 | ส่งผลงาน และปิดรับผลงาน | ภายในวันที่ 31 มกราคม 2561 |
5 | คณะกรรมการตัดสินรอบคัดเลือก 10 ทีม | 2 กุมภาพันธ์ 2561 |
6 | รอบ Presentation ต่อคณะกรรมการ 10 ทีม พร้อมประกาศผล และมอบรางวัลภายในวันเดียวกัน | 9 มีนาคม 2561 |
หมายเหตุ ระยะเวลาตามประกาศ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม |