Journry to The West
ทัศนศึกษาในวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2562
อ.ปิยะ ไล้หลีกพาล นำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1 จำนวน 64 คน ไปทัศนศึกษา สถาปัตยกรรมตะวันตกและจีน ที่หัวลำโพงและตลาดน้อย โดยให้ชื่อการทัศนศึกษาครั้งนี้ว่า “Journey to the West” โดยมีแนวคิดให้เป็นเหมือนการเดินท่องเที่ยว จึงเลือกเส้นทางนี้
โดยเป้าหมายหลักของการทัศนศึกษา ได้แก่ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และ โบสถ์วัดพระแม่ลูกประคำ (วัดกาลหว่าร์) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยสถาปนิกตะวันตก และเป็นงานออกแบบในลักษณะที่ฟื้นฟูรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ คือ Renaissance Revival และ Gothic Revival ตามลำดับ
ส่วนเป้าหมายรอง ได้แก่ ศาลเจ้าโจซือกง, ศาลเจ้าโรงเกือก, และไปรษณีย์กลาง
วิธีการศึกษาในการทัศนศึกษา
1. กระตุ้นให้นักศึกษาสนใจและศึกษาสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง ผ่านโจทย์งาน ที่เป็นเหมือนปริศนาที่ต้องค้นหา ในตัวสถาปัตยกรรมนั้น ๆ
2. อาจารย์ ไม่เป็นเป็นผู้สอนหรือผู้บรรยาย แต่เป็นผู้นำทาง เพื่อให้นักศึกษาสังเกต และสนใจใฝ่รู้ด้วยตนเอง
3. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่สนุกสนาน เหมือนการไปเที่ยว
ข้อสรุปหลังการทัศนศึกษา
ทำโดยการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มถกเถียงและอภิปรายกันเองในประเด็นของ “การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์มาใช้” ได้ข้อสรุปจากความเห็นทั้งหมดของนักศึกษา ดังนี้
1. สถาปัตยกรรมเหล่านั้น มีความสวยงาม เป็นหน้าตาของเมือง สร้างความน่าสนใจให้กับเมืองและย่านที่สถาปัตยกรรมนั้นตั้งอยู่ เป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว
2. แต่ก็มีข้อเสียในแง่ของการดูแลรักษา ซ่อมแซม และปฏิสังขรณ์ ที่มีราคาแพง
3. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกไม่ได้เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงตัวตนของประเทศไทย
4. สถาปัตยกรรมที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์นั้นดูไม่ทันสมัย
5. สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ใช้งานได้สะดวกกว่า
6. นักศึกบางคนเสนอความเห็นที่ประนีประนอม โดยการเสนอให้ใช้การออกแบบที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และสมัยเก่า (เหมือนกับสถาปัตยกรรมโพสโมเดิร์น)