วุฒิการศึกษา

ปริญญาโท: สถ.ม. (สถาปัตยกรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาตรี: สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความเชี่ยวชาญ

- Architectural Design Methodology 
- Buddhist Philosophy in Architecture
- ผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว (TREES-A NC) TREES ASSOCIATE NEW CONSTRUCTION

แนวทางการพัฒนานักศึกษา

    การพัฒนานักศึกษา คณะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย และการส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อให้นักศึกษาพร้อมรับมือกับความท้าทายและทิศทางการเติบโตในอุตสาหกรรมการออกแบบในหลายๆด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีแนวคิดการพัฒนานักศึกษาที่สำคัญใน 3 ด้าน

   1.ด้านความคิดสร้างสรรค์(Creativity)

สร้างให้นักศึกษามีกระบวนความคิดสร้างสรรค์ แสดงออกถึงจินตนาการและการวิพากษ์ทางความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีความเป็นไปได้ในการกำหนดและแก้ไขปัญหาด้วยการออกแบบ โดยเน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและบูรณาการกับการทำงานจริง ส่งเสริมการเรียนรู้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหา คิดสร้างสรรค์ และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

   2.ด้านความล้ำสมัย(Cutting-edge)

สร้างให้นักศึกษามีความพร้อมในการปรับใช้เทคโนโลยี ประยุกต์นวัตกรรมที่ก้าวล้ำที่สุดผสานกับการออกแบบ สร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการออกแบบที่ยั่งยืน การปรับใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการออกแบบ นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีแก่ผู้ใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

   3.ความท้าทาย(Challenge)

สร้างให้นักศึกษามีความท้าทายต่อปัญหา สร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ เสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ต่อสังคม ผ่านเวทีความคิดและการประกวดแบบ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ตลอดจนเปิดโลกทัศน์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การศึกษา ดูงาน ให้มีความสามารถปรับตัวและเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ พร้อมรับกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

นโยบายการบริหาร

 

1. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรและการวิจัย เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม

2. สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารจัดการคณะ สาขา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

3. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมคณะ สร้างจิตสาธารณะ ทำประโยชน์เป็นที่พึ่งได้แก่สังคมและชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

4. ขยายเครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน  องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และร่วมมือกันในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน การวิจัย ความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการทำงานในระดับสากล

5. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรคณะ ทั้งในด้านวิชาการและการบริหารจัดการ รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถและทักษะที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต