งานวิจัยและการบริการวิชาการ-วิชาชีพสู่สังคม ถือเป็นหนึ่งพันธกิจหลักที่มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ต่อสังคม ในฐานะแหล่งความรู้และสร้างบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม

      คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในฐานะที่เป็นศาสตร์ที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ อีกทั้งการประกอบวิชาชีพและองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ในฐานะที่เป็น “ศาสตร์แห่งการจัดการพื้นที่” ตั้งแต่ระดับเมืองขนาดใหญ่ อาคาร จนถึงการจัดการพื้นที่ภายในอาคาร เพื่อให้โลกวิชาการและการปฏิบัติวิชาชีพได้เชื่อมโยงสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น ศูนย์วิจัยบูรณาการภาพพื้นที่และสังคม (CISR) จึงมีหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและงานวิจัยของคณะฯ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อบริการวิชาการและวิชาชีพด้านการสร้างสรรค์และแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม (Built-Environment) ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การจัดการพื้นที่ระดับเมือง,ระดับกลุ่มอาคาร, ระดับอาคาร, และภายในอาคาร ในมิติความสัมพันธ์ของพื้นที่กายภาพ มนุษย์ และสังคม
  • เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีพื้นที่และโอกาสในการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ทางการวิจัยและการปฏิบัติวิชาชีพ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
  • เพื่อยกระดับสู่การสร้างระบบและการจัดการองค์ความรู้ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมรังสรรค์ของคณะฯ ทั้งในด้านการผลิตเอกสารทางวิชาการของบุคลากรในคณะ และเวทีสัมนาวิชาการ-วิชาชีพ
  • เพื่อสร้างเครือข่ายวิชาการ-วิชาชีพ กับองค์กรต่างๆ ภายนอกในฐานะสถาบัน

 

แนวคิดการดำเนินงาน

  • เน้นการสร้างองค์ความรู้ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) อย่างบูรณาการข้ามศาสตร์  (Interdisciplinary)
  • หน่วยปฏิบัติการวิจัย / กลุ่มศึกษา (Unit of Excellence)
    • Housing Study Unit (HU)
    • Conservation Unit  (CU)
    • Participatory Planning Unit (PU)
  • นำความรู้กลับสู่ชั้นเรียน
    • กรณีศึกษา บทเรียน แบบฝึกหัด
    • การฝึกงาน
    • สหกิจศึกษา

ผลงาน